การที่จะแบ่งปันข้อมูลได้นั้น ผู้ส่งจะต้องจัดเตรียมสารให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับช่องทางและผู้รับ ซึ่งช่องทางการสื่อสารแบ่งได้ดังนี้
การที่จะแบ่งปันข้อมูลได้นั้น ผู้ส่งจะต้องจัดเตรียมสารให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับช่องทางและผู้รับ ซึ่งช่องทางการสื่อสารแบ่งได้ดังนี้
ในแต่ละช่องทางการสื่อสารนั้น ผู้ส่งสามารถจัดเตรียมข้อมูลให้เหมาะสมได้หลายรูปแบบ ตัวอย่าง และกระบวนการในการสร้างรูปแบบของสาร ได้แก่ การเขียนบล็อก การทําแฟ้มผลงาน และการสร้างเว็บไซต์ เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานแนวคิดในการเตรียมสารในรูปแบบอื่น ๆ ต่อไป
บล็อก (Blog) มาจากคำว่า เว็บ-ล็อก (web-log) ซึ่งเป็นการเขียนบทความอธิบายหรือให้ข้อมูลเพื่อนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ โดยผู้เขียนบล็อกจะเรียกว่า “บล็อกเกอร์” หากมีผู้ติดตามจำนวนมากและเป็นที่นิยมจะกลายเป็น “อินฟลูเอนเซอร์”
อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คือ บุคคลที่มีอิทธิพลบนสื่อออนไลน์ ซึ่งมีคนให้ความสนใจและติดตามเป็นจำนวนมากผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น YouTube, Instagram, Facebook, Blog ต่าง ๆ
ผู้ให้บริการเว็บบล็อก ได้แก่ Medium, Blognone, Dek-D เป็นต้น
แฟ้มสะสมผลงาน เป็นเอกสารที่รวบรวมหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถและผลงานของบุคคลเพื่อใช้ในการนำเสนอประกอบการพิจารณาการประเมินการทำงาน การสมัครเข้าเรียน หรือการสมัครเข้าทำงาน
การทำแฟ้มสะสมผลงาน เป็นการรวบรวมผลงานเพื่อนำเสนอต่อมหาวิทยาลัย บริษัท หรือผู้ว่าจ้าง ประกอบการพิจารณารับเข้าศึกษาต่อ เข้าทำงาน หรือจ้างงาน เป็นแฟ้มที่แสดงให้เห็นว่าตัวตนของเราเหมาะสมกับความต้องการของผู้อ่าน ซึ่งบางครั้งเราอาจยังมีผลงานไม่เพียงพอที่จะนำเสนอตัวตนในด้านที่เราต้องการได้สมบูรณ์ จึงควรรีบทำแฟ้มผลงานล่วงหน้า เพื่อวิเคราะห์ว่าขาดผลงานด้านใด จะได้เร่งสร้างผลงานในด้านนั้นเพิ่มเติม
เว็บไซต์ (Website) คือ สื่อนำเสนอข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นต้องการสื่อสารกับผู้ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์เกิดจากการรวบรวมหน้าเว็บเพจหลายหน้าเข้าด้วยกันและเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlink) จัดเก็บไว้บนเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ซึ่งต้องเข้าถึงด้วยโปรแกรมเฉพาะทางที่เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)
เริ่มแรกเว็บไซต์นั้นถูกสร้างขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language) และได้มีการพัฒนาและนำภาษาอื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วย เพื่อช่วยให้เว็บไซต์มีความสามารถมากขึ้น เช่น PHP ASP SQL Java ฯลฯ
ปัจจุบันการพัฒนาออกแบบเว็บไซต์ไม่ใช่เรื่องยาก เนื่องจากมีเครื่องมือให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือ CMS (Content Management System) อย่าง Joomla, WordPress, Drupal เป็นต้น แม้กระทั่ง Google ที่เปิดให้บริการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ได้ผ่าน Google Sites
การออกแบบเว็บไซต์เบื้องต้น
หัวใจสำคัญของการออกแบบเว็บไซต์ คือ ใครเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการเว็บไซต์เรา (กลุ่มเป้าหมาย) และกลุ่มผู้ใช้นั้นมีมีลักษณะเฉพาะ ความต้องการ หรือพฤติกรรมการใช้งานอย่างไร เมื่อผู้ออกแบบค้นพบคำตอบที่เหมาะสมและออกแบบเว็บไซต์ที่ตรงใจผู้ใช้แล้ว ผลลัพธ์ที่เกิดย่อมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์นั้นอย่างแน่นอน
User Experience (UX) และ User Interface (UI) เป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ใช้งานได้ง่าย ไม่เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด สัมผัสได้ถึงประสบการณ์ที่ดีแบบไม่สะดุดตลอดการใช้งานเว็บไซต์
User Experience (UX)
UX คือ การออกแบบประสบการณ์ใช้งาน เพื่อให้ผู ้ใช้เกิดความพึงพอใจสูงสุด เป็นสิ่งที่ไม่มีภาพชัดเจน มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่เป็นสิ่งที่ผู้ใช้สามารถสัมผัสได้ทางความรู้สึก เช่น ใช้งานง่าย มีลำดับขั้นตอนชัดเจน เป็น การสร้างความรู้สึกจดจำให้ผู้ใช้งานอยากกลับมาใช้งานอีก
User Interface (UI)
UI คือ การออกแบบส่วนเชื่อมประสานระหว่างผู ้ใช้งานกับเว็บไซต์ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้สามารถมองเห็นได้ มุ่งเน้นไปที่หน้าตาการออกแบบ ความสวยงามเป็นมิตร ผู้ใช้ได้รับความสะดวกสบายในการใช้งาน เช่น การวางภาพ ปุ่ม ขนาดตัวอักษร สี เป็นต้น
การสร้างเว็บไซต์ด้วย Google Sites
เอกสารอ้างอิง
[1] สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
[2] สาขาเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. โครงการสอนออนไลน์ – Project 14. https://proj14.ipst.ac.th/m4-6-cs/m6-cs
[3] มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย. (2567). เอกสารประกอบหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสรางเว็บไซต์ด้วยชื่อโดเมน .th และ .ไทย ประจำปี พ.ศ. 2567. เว็บครู.ไทย. https://www.webkru.in.th/about67