ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2563)
ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2563)
ภาพแสดงแนวโน้มพัฒนาการของ AI Machine Learning และ Deep Learning
ที่มา : https://www.researchgate.net/figure/Evolution-of-Artificial-Intelligence-23_fig1_348174488
การใช้ชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ในหลาย ๆ ด้าน แนวโน้มที่มนุษย์จะใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยทั้งในด้านการทำงาน และอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน องค์กร AI for K-12 (www.AI4K12.org) ได้นำเสนอแนวคิดการจัดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์ในระดับขั้นพื้นฐานที่เรียกว่า แนวคิดสำคัญ 5 ประการ สำหรับปัญญาประดิษฐ์ (Five Big Ideas in AI) ในงานประชุมวิชาการของสมาคมครูด้านวิทยากรคอมพิวเตอร์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2562 ดังนี้
1. การรับรู้ (Perception)
2. การแทนความรู้และการให้เหตุผล (Representation and reasoning)
3. การเรียนรู้ (Learning)
4. การปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นธรรมชาติ (Natural interaction)
5. ผลกระทบทางสังคม (Social impact)
ที่มา: https://ai4k12.org/gradeband-progression-charts
ความสามารถในการมองเห็นและการได้ยินของคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้ประสบความสําเร็จ โดยปกติปัญญาประดิษฐ์จะรับรู้ด้วยการมองเห็นและการได้ยินผ่าน อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่เป็นเซนเซอร์ เช่น กล้อง ไมโครโฟน หรืออุปกรณ์นําเข้าข้อมูลอื่น ๆ โดยอุปกรณ์เหล่านี้ จะรับข้อมูลเข้าไปเพื่อประมวลผล นอกจากการรับรู้ผ่านทางเซนเซอร์แล้วปัญญาประดิษฐ์จะต้องเข้าใจสิ่งที่รับรู้ได้ด้วย เช่น เข้าใจความหมายของสิ่งที่เห็น หรือสิ่งที่ได้ยินด้วย
ปัญญาประดิษฐ์จะต้องสามารถเก็บองค์ความรู้ในรูปแบบของตัวแทนความรู้ (Knowledge representation) เช่น กฎการตัดสินใจที่สร้างมาจากองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ และใช้ตัวแทนความรู้นี้ในการให้เหตุผลโดยการอนุมาน (Inference) ซึ่งเป็นกระบวนการหาข้อสรุปจากองค์ความรู้ที่มีอยู่
ปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้อัลกอริทึมการเรียนรู้ ของเครื่อง (Machine Learning) จะเรียนรู้จาก ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) โดยการสร้างโมเดล (Model) จากข้อมูลฝึกสอน (Training data) ที่นําเข้าโดยมนุษย์ หรือเครื่องจักร (Machine) ที่สามารถสร้างข้อมูลฝึกสอนเองได้ ตัวอย่าง แอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้การเรียนรู้ของเครื่องจากข้อมูลฝึกสอน ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูล นําเข้าและข้อมูลส่งออก
นักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์พยายามสร้างปัญญาประดิษฐ์ให้สามารถปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยปัญญาประดิษฐ์จะต้องเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ก่อน เช่น การพูดคุยกันระหว่างมนุษย์ จึงจะทําให้ปัญญา ประดิษฐ์สามารถเลียนแบบมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ปัญญาประดิษฐ์นั้นอาจจะเป็นประโยชน์หรือเป็นอันตรายต่อสังคมก็ได้ขึ้นอยู่กับการนําไปใช้งาน การใช้งานปัญญาประดิษฐ์จะต้องคํานึงถึงจริยธรรม (Ethics) ความปลอดภัย (Security) และความเป็นส่วนตัว (Privacy) เนื่องจากปัญญาประดิษฐ์สามารถตัดสินใจหรือกระทําสิ่งที่อาจจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ได้ ดังนั้น จะต้องกําหนดกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมให้ปัญญาประดิษฐ์ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
การพัฒนา AI มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครื่องจักรทำงานแทนมนุษย์ รวมทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานบางอย่าง ดังนั้น AI ที่พัฒนาขึ้นจึงไม่จำเป็นต้องพัฒนาให้สามารถคิดอ่านและมีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ได้ทั้งหมด แต่สามารถทำงานบางอย่างแทนมนุษย์หรือสามารถสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของมนุษย์ได้ จากการศึกษาสามารถสรุปประเภทของ AI ได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. Artificial Narrow Intelligence (ANI) หรือ “ปัญญาประดิษฐ์แบบเบา (Weak AI)” เป็น AI ที่สร้างขึ้น มาเพื่อใช้งานเฉพาะทาง เช่น SIRI เป็น AI ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ แนะนำและให้คำปรึกษา (เท่าที่สามารถทำได้) ต่อผู ้ใช้งานสินค้าแบรนด์ Apple หรือ Alexa ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าของ Amazon ในการหาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งการจองทริปและแสดงราคาสินค้า เป็นต้น
2. Artificial General Intelligence (AGI) หรืออาจเรียกว่า “ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม (Strong AI)” คือ AI ที่มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ (Human-Level AI) ซึ่งมนุษย์เหนือกว่าสัตว์หรือสิ่งประดิษฐ์ อื่นตรงที่มนุษย์สามารถใช้ความคิดบนพื้นฐานของเหตุและผล สามารถวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา ต่างๆ และสามารถเรียนรู ้จากประสบการณ์ในอดีต ตัวอย่างแอปพลิเคชันในระดับนี้ เช่น รถยนต์ ขับเคลื่อนได้เองของ Uber และระบบขับรถอัตโนมัติ (Autonomous Car) ของ Tesla เป็นต้น
3. Artificial Super Intelligence (ASI) อาจเรียกว่า “ปัญญาประดิษฐ์แบบทรงปัญญา” ซึ่ง Nick Bostrom นักคิดชั้นนำด้าน AI จาก Harvard University กล่าวว่า AI ประเภทนี้เทียบเคียงได้กับ “Superintelligence” หรือเครื่องจักรทรงภูมิปัญญา (Machine Superintelligence) ที่สามารถบูรณาการความรู ้ในทุกศาสตร์แล้วนำมาประมวลผลด้วยความเร็วสูง และมีความเป็นไปได้ว่า AI ประเภทนี้จะมีศักยภาพในเชิงสติปัญญาเหนือมนุษย์
ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (2562)
ที่มา : https://www.dga.or.th/document-sharing/infographic/36539
การเรียนรู้ของเครื่อง
(Machine Learning)
Machine Learning คือ การทำให้เครื่องจักร มีความสามารถในการเรียนรู้จากข้อมูลเช่นเดียวกับมนุษย์ สามารถประมวลผล คาดการณ์ ตัดสินปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองผ่านการเรียนรู้ชุดข้อมูลที่ป้อนเข้าไป
การเรียนรู้เชิงลึก
(Deep Learning)
Deep Learning คือ การทำให้เครื่องจักรเรียนรู้ด้วยการคำนวณแบบหลายชั้น (Layer) ด้วยการเลียนแบบการทำงานของโครงข่ายประสาทของมนุษย์ (Neurons) โดยนำระบบโครงข่ายประสาท (Neural Network) มาซ้อนกันหลายชั้น และทำการเรียนรู้ข้อมูลตัวอย่าง
Machine Learning มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยสามารถแบ่งออกได้ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. การเรียนรู้แบบมีผู้สอน (Supervised Machine Learning) การมีผู้สอน หมายถึง ข้อมูลที่ใช้ในการฝึกนั้น (Training Data) ได้ถูกนำมาแยกประเภทผลลัพธ์ด้วยการติดป้าย (Label) แล้วจึงนำข้อมูลที่ติดป้ายแล้วไปใช้ในการฝึกของเครื่องที่ทำงานผ่านอัลกอริทึมสำหรับสร้างโมเดลที่ใช้ในการทำนายผลลัพธ์ เมื่อได้โมเดลที่ผ่านการฝึกแล้วก็จะทดลองกับข้อมูลใหม่ (New Data) เพื่อให้เครื่องทำนายผ่านแบบจำลอง (Predictive Model) ว่าคำตอบควรจะเป็นอย่างไร
นอกจากการเรียนรู้แบบ Supervised Machine Learning ที่มีผู้สอนโดยปกติทั่วไปแล้ว ยังมีวิธีการเรียนรู้แบบ Deep Learning ที่เป็นรูปแบบการเรียนรู้ของเครื่องแบบมีผู้สอนเช่นกัน แต่ Deep Learning มีการกำหนดชั้นของข้อมูล (Layer) ที่แตกต่างกันเพื่อให้เครื่องสามารถเรียนรู ้ข้อมูลได้มากขึ้น แม่นยำขึ้น โดยใช้เทคนิคการเพิ่มความลึกของข้อมูลที่แสดงออกมาตามจำานวนของ ชั้นข้อมูลที่มากขึ้น
2. การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน (Unsupervised Machine Learning) อัลกอริทึมการเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอนหรือแบบไม่ถูกควบคุม เป็นเทคนิคการเรียนรู้ด้วยข้อมูลที่ไม่ถูกจัดประเภท หรือติดป้ายกำกับข้อมูล การเรียนรู้ด้วยเทคนิคนี้ เครื่องจะอนุมานข้อมูลที่ได้รับและทำความเข้าใจถึงโครงสร้างที่ซ่อนอยู่ ดังนั้น เทคนิคนี้จึงไม่สามารถหาผลลัพธ์ที่ถูกต้องได้ แต่จะใช้วิธีสำรวจข้อมูลและใช้การอนุมานว่าข้อมูลนั้นคืออะไร
3. Semi-supervised Machine Learning Algorithm เป็นเทคนิคการเรียนรู้ด้วยอัลกอริทึมแบบกึ่งควบคุม เป็นเทคนิคการเรียนรู้ที่ผสมผสานทั้งการเรียนรู้แบบมีผู้สอน (Supervised) และไม่มีผู้สอน (Unsupervised) เนื่องจากมีการใช้ทั้งข้อมูลที่มีป้ายกำกับและไม่มีป้ายกำกับสำหรับการกำหนดข้อมูลให้เครื่องเรียนรู้ ซึ่งเทคนิคนี้สามารถปรับปรุงความแม่นยำในการเรียนรู้ของเครื่องได้ดียิ่งขึ้น มักถูกนำมาใช้ในกรณีที่ข้อมูลที่มีป้ายกำกับนั้นไม่สามารถวิเคราะห์ด้วยการฝึกสอนแบบปกติได้แต่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์เพิ่มเติม
4. Reinforcement Machine Learning Algorithms เป็นเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องแบบเสริมกำลัง โดยการกำหนดเป้าหมายให้แก่เครื่องหรือคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า “Reinforcement Signal” เพื่อให้เครื่องสร้างทางเลือกในการตัดสินใจหลายรูปแบบตามสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นเครื่องจะเก็บข้อมูลการตัดสินใจในแต่ละทางเลือกเพื่อเรียนรู้ผลลัพธ์และข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เครื่องสามารถประมวลผลเพื่อหาทางเลือกที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการบรรลุเป้าหมายได้โดยอัตโนมัติ
ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (2562)
ในชีวิตประวัน มีการใช้งานแอปพลิเคชันที่มีการทํางานของปัญญาประดิษฐ์อยู่เบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูล หรือการได้รับคําแนะนําการซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ และยังมีแอปพลิเคชันอื่น ๆ ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์อีกมากมาย ตัวอย่างนวัตกรรมที่มีการใช้ปัญญาประดิษฐ์
การแปลงเสียงพูดให้เป็นข้อความ ถูกนํามาใช้ในการนําข้อมูลเข้าด้วยเสียงพูด แทนการพิมพ์ข้อความด้วยคีย์บอร์ด นวัตกรรมนี้ใช้ระบบรู้จําเสียงพูด (Speech recognition System) ที่เรียนรู้การแปลงเสียงพูดให้เป็นข้อความจากข้อมูลนําเข้า คือ คลิปเสียงพูด (speech) และข้อมูลส่งออก คือ ข้อความที่ถอดมาจากคลิปเสียงนั้น เช่น Voice Typing
เครื่องแปลภาษา เป็นโปรแกรมที่ใช้สําหรับแปลภาษาของมนุษย์จากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง เช่น แปลภาษา อังกฤษไปเป็นภาษาไทย โดยระบบจะเรียนรู้การแปลภาษาจากฐานข้อมูลจํานวนมากที่มนุษย์ได้แปลและเก็บรวบรวมไว้ จนกระทั่งสามารถแปลภาษาได้อย่างถูกต้อง เช่น Google Translate
การระบุตัวตนด้วยใบหน้า เป็นการระบุว่าภาพใบหน้าที่พิจารณาเป็นของบุคคลใด โดยใช้ระบบรู้จำใบหน้า (Facial recognition system) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ภาพใบหน้าของบุคคลแล้วบอกว่าภาพใบหน้านั้นเป็นของบุคคลใดโดยผ่านการเรียนรู้จากข้อมูลใบหน้าจำนวนมาก จนสามารถระบุภาพใบหน้าของบุคคลได้ยอย่างแม่นยำ เช่น การปลดล็อกด้วยใบหน้าของสมาร์ตโฟน การเปรียบเทียบใบหน้าผู้ต้องสงสัยกับจากกล้องวงจรปิด การแท็ก (Tag) ชื่อคนจากใบหน้าที่อยู่ในภาพ
รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ เป็นรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมีคนขับ แต่จำเป็นต้องมีปัญญาประดิษฐ์สำหรับขับเคลื่อนรถ ซึ่งจะรับข้อมูลนำเข้าจากเซนเซอร์ เช่น กล้อง เรดาร์ (Radar) และไลดาร์ (Lidar) และมีข้อมูลส่งออก คือ การกระทำเพื่อควบคุมรถยนต์ เช่น เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เพิ่มความเร็ว ลดความเร็ว หรือหยุดรถ โดยโปรแกรมจะเรียนรู้การขับเคลื่อนรถยนต์จากข้อมูลจำนวนมาก จนกระทั่งรถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้เองอย่างปลอดภัย
AI ช่วยคำนวณสภาพการจราจรและแนะนำเส้นทางการเดินทางพร้อมทั้งบอกเวลาการเดินทางได้อย่างแม่นยำ เช่น Google map
การแนะนำภาพยนตร์หรือสินค้าตามพฤติกรรม ความสนใจ และความชอบของผู้บริโภค เช่น การแนะนำภาพยนตร์บน NetFlix, YouTube การแนะนำสินค้าบน Shopee, Lazada
แชทบอท เป็นระบบช่วยสนทนา ตอบคำถามให้ข้อมูล ออกแบบมาเพื่อเลียนแบบการสนทนาของมนุษย์ การสนทนาแชทบอทขับเคลื่อนโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่อง (ML) และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) ตัวอย่างเช่น การสนทนาหรือโต้ตอบข้อความผ่านช่องทางแชทของโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้แก่ Facebook Messenger หรือ LINE อ่านต่อ...
Generative AI ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ใช้การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) สรรค์สร้างข้อมูลเนื้อหาใหม่ ๆ แบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้มนุษย์ สามารถสร้างคอนเทนต์ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และอื่น ๆ จากข้อมูลที่ถูกป้อนเข้ามาในระบบ ตัวอย่าง Generative AI ที่โด่งดัง ได้แก่ ChatGPT พัฒนาโดย OpenAI เปิดตัวในปี 2022 และ Gemini พัฒนาโดย Google อ่านต่อ....
กิจกรรม Machine Learning and Model Evaluation with Teachable Machine
https://teachablemachine.withgoogle.com
เอกสารอ้างอิง
[1] สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
[2] สาขาเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. โครงการสอนออนไลน์ – Project 14. https://proj14.ipst.ac.th/m4-6-cs/m6-cs
[3] สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2562). เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับการบริหารงานและการบริการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: ส.พิจิตรการพิมพ์.
[4] AI for all. (2563). AI ในชีวิตประจำวัน. ชุดโครงการปัญญาประดิษฐ์ / วิทยาการหุ่นยนต์สำหรับทุกคน. https://aiforall.or.th
[5] Sarocha Sudtachart. (2567). Generative AI คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง จะแย่งงานคนหรือไม่?. Disrupt Technology Venture. https://www.disruptignite.com/blog/generative-ai